ตั้งครรภ์ควรจะป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อได้อย่างไร
- หลีกเลี่ยงไปในที่ชุมชน ถ้าจำเป็นต้องเดินทาง ให้อยู่ห่างจากคนอื่นราว ๆ 1.5 เมตร
- ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยแอลกอฮอล์เจลหรือสบู่
- สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ถ้าไอ หรือ จาม ควรใช้ผ้าหรือทิชชูปิดปากและจมูก
สตรีตั้งครรภ์ควรจะไปตรวจหาเชื้อโรคโควิด 19 หรือไม่
- ถ้ามีไข้ ไอ หายใจติดขัด เจ็บคอ มีน้ำมูก ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจและรับการรักษา หากอยู่ในเกณฑ์ที่น่าสงสัยแพทย์จะตรวจหาเชื้อไวรัสทันที
- กรณีไม่มีอาการ ต้องพิจารณาว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงหรือเป็นผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงหรือไม่ ถ้าใช่ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัส
อาการที่พบบ่อยของโรค COVID-19 มีอะไรบ้าง
- มีอาการไข้ 88%
- ไอแห้ง 68%
- อ่อนเพลีย 38%
- มีเสมหะ 33%
- หายใจเหนื่อย 19%
- ปวดกล้ามเนื้อ 15%
- เจ็บคอ 14%
ถ้าเป็นโรคแล้วจะเป็นอย่างไรบ้าง
โดยส่วนใหญ่จำนวน 4 ใน 5 คน (80%) อาการจะไม่รุนแรง มีเพียงจำนวน 1 ใน 5 คน (20%) ที่อาการรุนแรง 5% เท่านั้นที่จำเป็นต้องเข้า ICU และมีเสียชีวิตราว ๆ 1-2%
ผู้ที่มีความเสี่ยงคือใครบ้าง
- ผู้มีประวัติเดินทางหรืออยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีรายงานการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
- ผู้ที่อยู่อาศัยร่วมกับผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่ที่มีรายงานการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
- ผู้ที่ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ผู้สัมผัสความเสี่ยงสูงคือใครบ้าง
- ผู้สัมผัสใกล้ชิดหรือมีการพูดคุยกับผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร นานกว่า 5 นาที หรือถูกไอจามรดจากผู้ป่วยโดยไม่มีการป้องกัน เช่น ไม่สวมหน้ากากอนามัย
- ผู้ที่อยู่ในบริเวณที่ปิด ไม่มีการถ่ายเทอากาศ เช่น ในรถปรับอากาศ ห้องปรับอากาศ ร่วมกับผู้ป่วยและอยู่ห่างจากผู้ป่วยไม่เกิน 1 เมตร นานกว่า 15 นาที โดยไม่มีการป้องกัน
จะไปตรวจหาเชื้อไวรัสได้ที่ไหนบ้าง
- โรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง และเอกชนขนาดใหญ่ทั่วประเทศไทย
- การตรวจจะเป็นการใช้ไม้สอดเข้าไปในโพรงจมูกและลำคอ ป้ายเอาสิ่งคัดหลั่งออกมาส่งตรวจ
สตรีตั้งครรภ์ถ้าติดเชื้อ จะมีผลต่อลูกหรือไม่
- จากรายงานสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ 38 รายจากประเทศจีน ไม่พบทารกติดเชื้อไวรัส
- ตรวจไม่พบเชื้อไวรัสในน้ำคร่ำ รก เลือดจากสายสะดือและน้ำนม
การดูแลขณะฝากครรภ์ต้องทำอะไรบ้าง
- แพทย์จะให้การดูแลเช่นเดียวกับสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่ติดเชื้อ
- ช่วงที่ติดเชื้อจะต้องแยกกักตัวอย่างน้อย 14 วัน หรือจนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อไวรัส
จำเป็นต้องผ่าท้องคลอดหรือไม่
- ยังไม่จำเป็น
- การผ่าท้องคลอดจะทำตามข้อบ่งชี้ที่แพทย์เป็นคนพิจารณา
- สามารถให้การระงับความรู้สึกด้วยการบล็อคหลังได้
หลังคลอดจะกอดและอุ้มลูกได้หรือไม่
- หลังคลอด จะมีการแยกทารกออกไปตรวจหาเชื้อไวรัสก่อน
- หากไม่พบเชื้อในตัวทารก มารดาสามารถกอดและอุ้มทารกได้ แต่ต้องสวมหน้ากาก ล้างมือก่อนและหลังจับตัวทารก ไม่ไอหรือจามใส่ทารก เช็ดทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
ให้นมลูกได้หรือไม่
- ให้ได้ แต่จะต้องระวังไม่ให้ลูกติดเชื้อโดยสวมหน้ากากอนามัยล้างมือก่อนและหลังจับตัวลูก
- หลีกเลี่ยงการไอ หรือจาม ขณะให้ลูกดูดนม
- เช็ดทำความสะอาดพื้นผิวหรือวัตถุที่สัมผัสด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
- หรือใช้วิธีปั๊มนมแทน แล้วให้ญาติหรือพี่เลี้ยงเอาไปให้ลูกกิน
ข้อมูลจาก : ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย